แนวความคิดของการจัดการความรู้ (KM Concept) คือ การบูรณาการพัฒนาบุคลากรด้วยการจัดการความรู้เข้ากับยุทธศาสตร์ของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ในประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 ของสำนักฯ “การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ระบบสารสนเทศด้านศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น”
การบ่งชี้ความรู้ เริ่มต้นโดยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดการความรู้ของสำนักศิลปะและวัฒนธรรมเพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนการจัดการความรู้ (แบบเป็นทางการ) โดยมีบุคลากรทุกคนเป็นคณะทำงานและร่วมกันพิจารณาเป้าหมาย และมีผู้บริหารของสำนักเป็นผู้อำนวยความสะดวก (Facilitator) และคอยให้ข้อเสนอแนะในการดำเนินงาน
จากนั้นจึงได้มอบหมายหน้าที่ แบบไม่เป็นทางการเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตามความสนใจของแต่ละบุคคล ความรู้เกิดขึ้นได้อย่างอิสระ หลากหลาย ในบรรยากาศที่ไม่เคร่งเครียด ตามหัวข้อการจัดการความรู้ เรื่อง “ถอดระหัส ระหัดวิดน้ำ : เทคโนโลยีชุมชนคนโคราช"
รวบรวมองค์ความรู้จากอาจารย์สุชาติ พิมพ์พันธ์ ผู้ออกแบบโครงสร้างระหัดวิดน้ำ เพื่อจัดทำเป็นสื่อการเรียนรู้
การประชุมคณะกรรมการจัดการความรู้สำนักศิลปะและวัฒนธรรม เพื่อทำการทบทวน ประมวลผล และกลั่นกรอง รวมถึงกำหนดแนวทางการนำต้นทุนองค์ความรู้มาใช้งานอย่างเป็นรูปธรรม
การจัดทำวิดิทัศน์ สัมภาษณ์ อาจารย์สุชาติ พิมพ์พันธุ์ รองผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ซึ่งเป็นผู้ศึกษาและทำการออกแบบระหัดวิดน้ำที่จัดสร้างในสระน้ำ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ในเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2564 โดยช่างผู้ตีระหัด คือ ลุงยนต์ หรือ คุณพยนต์ โภชน์สูงเนิน ช่างผู้เชี่ยวชาญเรื่องระหัดวิดน้ำ จากบ้านวังวน ตำบลโคราช อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา
การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นพร้อมกับการทำงานไปกับทีมออกแบบและทีมช่าง ทั้งจากการพูดคุย และร่วมดำเนินการ ซึ่งทำให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม รวมถึงมีความเข้าใจในกระบวนการก่อสร้าง และกลไกในการทำงานของระหัดวิดน้ำโบราณนี้ ซึ่งจะบุคลากรของสำนักศิลปะและวัฒนธรรมจะยังคงเรียนรู้จากการให้บริการแก่ผู้มาเยี่ยมชม การซ่อมแซม และสร้างการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน รวมถึงจะได้นำข้อมูลมาพัฒนารูปแบบการให้บริการในอนาคตต่อไป