|
“ระหัดวิดน้ำ” เป็นเครื่องมือในการนำน้ำเข้าหรืออกจากคูคลองที่มีระดับต่ำมายังพื้นที่สูงกว่า โดยใช้กระแสน้ำพัดหมุนวงล้อขนาดใหญ่โดยไม่ต้องใช้พลังงานอื่นช่วย ทำให้กระบอกหรือภาชนะที่ติดอยู่กับระหัดก็จะตักน้ำขึ้นไปเทบนรางรับน้ำ แล้วไหลไปตามรางน้ำไม่ขาดสาย ซึ่งส่วนใหญ่น้ำเหล่านี้จะใช้ประโยชน์ในการเกษตรกรรมมาช้านาน |
ในอดีตในพื้นที่ลุ่มน้ำลำตะคอง ของจังหวัดนครราชสีมาพบมีการสร้างระหัดวิดน้ำจำนวนมาก แต่ในปัจจุบันเหลือลงไปอย่างมาก ดังนั้นสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา จึงร่วมนายวุฒิเดช ครจำนงค์ ศิษย์เก่าป.กศ. รุ่น ๕ วิทยาลัยครูนครราชสีมา จัดสร้างระหัดวิดน้ำโบราณ ในบริเวณใกล้กับเรือนโคราชฯ เพื่อให้เป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาในการสร้างระหัด และเสริมศักยภาพให้โคราชเป็นแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาของชาวโคราชได้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น |
ในการนี้ สำนักศิลปะและวัฒนธรรมได้เล็งเห็นคุณค่าขององค์ความรู้และภูมิปัญญาในการจัดสร้างระหัดวิดน้ำ ซึ่งหาดูได้ยากในปัจจุบัน จึงได้มีความเห็นร่วมกันในการดำเนินการโครงการจัดการความรู้ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๔ ประเด็น “ ถอดรหัส ระหัดวิดน้ำ : เทคโนโลยีชุมชนคนโคราช” เพื่อดำเนินการศึกษา รวบรวม จัดเก็บและเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับการจัดสร้างระหัดวิดน้ำโบราณ เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาศักยภาพบุคลากรและการบริการวิชาการด้านวัฒนธรรมแก่ชุมชนอีกด้วย |
|
ชื่อองค์ความรู้ : |
ถอดรหัส ระหัดวิดน้ำ |
ผู้รับผิดชอบองค์ความรู้ |
บุคลากรสายสนับสนุน สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา |
สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์ |
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาการให้การบริการฐานข้อมูลทางศิลปวัฒนธรรม
กลยุทธ์ที่ 4 การเสริมสร้างศักยภาพแหล่งเรียนรู้ทางศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น |
วัตถุประสงค์ |
1. เพื่อให้เกิดการแบ่งปันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของบุคลากรในสำนักศิลปะและวัฒนธรรม
2. เพื่อรวบรวมแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ในการพัฒนาการปฏิบัติงาน
3. เพื่อนำความรู้และแนวปฏิบัติที่ดีที่ได้รับจากการแบ่งปันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ไปใช้ในการพัฒนาบุคลากรในการปฏิบัติงาน |
ผู้ใช้ข้อมูล |
บุคลากรสำนักศิลปะและวัฒนธรรม |
|
|
|
|