ในปีงบประมาณ ๒๕๖๒ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ได้มีการดำเนินงานเกี่ยวกับการส่งเสริม สืบสาน ทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม โดยใช้กระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM) เพื่อสร้างองค์ความรู้ พัฒนาขีดความสามารถ และเสริมสร้างสมรรถนะในการปฏิบัติงานของบุคลากรในด้านการใช้บริการแก่ผู้มาเยี่ยมชมหรือนักท่องเที่ยวตามอัธยาศัย ให้สามารถได้รับความรู้ความเข้าใจในการเข้าชมพิพิธภัณฑ์เมืองนครราชสีมได้อย่างถูกต้องตามลำดับเนื้อหาที่จัดแสดงการดำเนินงานดังกล่าวตามรอยเส้นทางประวัติศาสตร์โคราช ณ พิพิธภัณฑ์เมืองนครราชสีมามีความสอดคล้องกับภารกิจของสำนักศิลปะและวัฒนธรรมในประเด็นกลยุทธ์ ๒.๑ พัฒนาแหล่งเรียนรู้และระบบสารสนเทศทางศิลปวัฒนธรรมให้เป็นอุทยานการเรียนรู้ที่มีศักยภาพต่อการเรียนรู้ของชุมชนและกลยุทธ์ ๔.๑ พัฒนาประสิทธิภาพจากทรัพยากรต่อการเพิ่มความสามารถในการจัดหารายได้ในมิติศิลปะและวัฒนธรรม
 

ดังนั้นโครงการจัดการความรู้สำนักศิลปะและวัฒนธรรม ในปีงบประมาณนี้จึงมุ่งเน้นการจัดการความรู้เพื่อลดข้อจำกัดของบุคลากรที่จำนวนน้อยและมีผู้มาเยี่ยมชมจำนวนมาก โดยมีความเห็นร่วมกันว่าควรดำเนินการจัดการความรู้ประเด็นเกี่ยวกับการแสวงหาแนวทางการอำนวยความสะดวกของผู้ชมในลักษณะการชมตามอัธยาศัยโดยใช้สื่อต่างๆ เป็นอุปกรณ์เสริม (ลดการนำชมของบุคลากร) โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือบุคลากรของสำนักศิลปะและวัฒนธรรมผลการดำเนินงาน พบว่า ๑) การแสวงหา เรียนรู้ และสร้างองค์ความรู้ ได้จำนวนองค์ความรู้ ๑เรื่อง คือ “ตามรอยเส้นทางประวัติศาสตร์โคราช ณ พิพิธภัณฑ์เมืองนครราชสีมา” ๒) การบูรณาการจัดการความรู้มีบุคลากรได้เข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทุก และได้รับการถ่ายทอดความรู้จากวิทยากรผู้มีประสบการณ์๑ ครั้ง มีการส่งบุคลากรของสำนักฯ ไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างหน่วยงานที่งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาคน และมีสื่อช่วยปฏิบัติงานในประเด็นของการจัดการความรู้ ๓) การเผยแพร่ความรู้มีบุคลากรได้รับเชิญให้เป็นวิทยากรเกี่ยวกับการพัฒนาระบบการจัดการความรู้ในองค์กรคณะ จำนวน ๑ คน และมีการเผยแพร่องค์ความรู้ที่เผยแพร่ความรู้สื่อผ่านทางเว็บไซต์ของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม จดหมายข่าวประชาสัมพันธ์ และกิจกรรม NRRU Show & Share2019 (ตลาดนัดความรู้) เมื่อวันที่ ๕กันยายน ๒๕๖๒ ณ หอประชุมอนุสรณ์ฯ ๗๐ ปี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

 
ชื่อองค์ความรู้ :

ตามรอยเส้นทางประวัติศาสตร์โคราช ณ พิพิธภัณฑ์เมืองนครราชสีมา

ผู้รับผิดชอบองค์ความรู้

1. ดร.รชานนท์ ง่วนใจรัก รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร สำนักศิลปะและวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
2. บุคลากรสายสนับสนุน สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาการให้การบริการฐานข้อมูลทางศิลปวัฒนธรรม
กลยุทธ์ที่ 4 การเสริมสร้างศักยภาพแหล่งเรียนรู้ทางศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
วัตถุประสงค์

 1. เพื่อให้เกิดการแบ่งปันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของบุคลากรในสำนักศิลปะและวัฒนธรรม
2. เพื่อรวบรวมแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ในการพัฒนาการปฏิบัติ งาน
3. เพื่อนำความรู้และแนวปฏิบัติที่ดีที่ได้รับจากการแบ่งปันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ไปใช้ในการพัฒนาบุคลากรในการปฏิบัติงาน

ผู้ใช้ข้อมูล บุคลากรสำนักศิลปะและวัฒนธรรม
   
 
 
 

พิพิธภัณฑ์เมืองนครราชสีมา : Korat Museum.
อาคาร 10 ชั้น 2 สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา