ขั้นที่ 1 บ่งชี้ความรู้ โดยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดการความรู้ เพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อน โดยมีบุคลากรทุกคนเป็นคณะทำงาน (ทีม KM) และร่วมกันพิจารณาเป้าหมาย และมีผู้บริหารของสำนักฯ เป็นผู้อำนวยความสะดวก (Facilitator) และให้ข้อเสนอแนะในการดำเนินงาน โดยได้ร่วมกันประชุมเพื่อพิจารณาเป้าหมายของการจัดการความรู้เพื่อให้ตอบโจทย์กับสถานการณ์การปฏิบัติงานภายใต้การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทั้งในการจัดกิจกรรมแบบดั้งเดิม และกิจกรรมผสมผสานกับระบบออนไลน์ จึงได้ระบุประเด็นการจัดการความรู้ในการพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อแสวงหาเทคนิคการสื่อสารเพื่อสืบสานงานศิลปวัฒนธรรมผ่านระบบออนไลน์ โดยองค์ความรู้ที่ได้รับการบ่งชี้ ได้ระบุถึงรูปแบบกิจกรรมทางศิลปวัฒนธรรมใน 4 รูปแบบ ดังนี้

- กิจกรรมแบบผสมผสาน (Hybrid) เน้นการจัดกิจกรรมที่มุ่งสร้างปฏิสัมพันธ์ทั้ง 2 ทาง คือ ทั้งสถานที่จัดจริงกับสร้างประสบการณ์ร่วมในระบบออนไลน์ อาทิ กิจกรรมเวียนเทียน กิจกรรรมตักบาตรวันพุธ

- กิจกรรมออนไลน์ทั้งหมด (Virtual) เน้นการจัดกิจกรรมในระบบออนไลน์ทั้งหมด แต่ยังคงเน้นการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้ร่วมกิจกรรมได้ อาทิ กิจกรรมตักบาตรวันพุธ

- การถ่ายทอดสดกิจกรรม (Live) หรือการบันทึกกิจกรรมเพื่อเผยแพร่ภายหลัง กิจกรรมที่ไม่เน้นการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้ชมในระบบออนไลน์ อาทิ การ Live พิธีและกิจกรรมต่างๆ ของสำนักฯ ผ่าน Facebook หรือ Youtube

- การประชุมออนไลน์ (Meeting) รูปแบบกิจกรรมที่เน้นการประชุม โดยมีการสำรวจอุปกรณ์ในห้องประชุมที่มีอยู่เดิม และจัดหาเพิ่มเติมบางส่วนเพื่อให้รองรับการประชุมออนไลน์ได้ อาทิ การประชุมประจำเดือนของสำนักฯ

 

...

 
2.1 การฝึกปฏิบัติในสถานการณ์จริง สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารเทศ ได้เปิดโอกาสให้เข้าศึกษา แลกเปลี่ยนเรียนรู้พร้อมกับฝึกปฏิบัติจริงในการจัดการประชุมออนไลน์ของมหาวิทยาลัยในรูปแบบ Hybrid เพื่อร่วมสังเกตการณ์เทคนิคและวิธีปฏิบัติงาน เรียนรู้การใช้งานอุปกรณ์ และสังเกตองค์ความรู้ที่สามารถปรับใช้ในงานของสำนักศิลปะและวัฒนธรรมได้
2.2 การสำรวจความพร้อมของอุปกรณ์ ทีม KM ได้เชิญคุณปริญญา นาที บุคลากรของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารเทศ ผู้เชี่ยวชาญในด้านอุปกรณ์สำหรับระบบออนไลน์ มาร่วมสำรวจวิเคราะห์ถึงศักยภาพของอุปกรณ์ที่ใช้ในห้องประชุม เพื่อจะได้กำหนดแนวทางการจัดหาเพิ่มเติมให้รองรับการใช้งานในระบบออนไลน์ได้สะดวกมากยิ่งขึ้น
2.3 การเรียนรู้จากมืออาชีพ ทีม KM ได้เชิญผู้เชี่ยวชาญในด้านการจัดกิจกรรมออนไลน์ มาถ่ายทอดองค์ความรู้ในรูปแบบการอบรม แบ่งเป็น 2 ประเด็น ได้แก่ 1) คุณกอบแก้ว บุญกลาง ประเด็น “เคล็ดไม่ลับกับการใช้งาน Zoom Cloud Meetings” และ 2) คุณปริญญา นาที ประเด็น “เทคนิคการประยุกต์ใช้อุปกรณ์ที่มีออยู่เพื่อปรับปรุงให้ใช้งานในระบบออนไลน์” เพื่อเป็นการปูพื้นฐานองค์ความรู้ และแสวงหาเทคนิคในการปฏิบัติงานในรูปแบบออนไลน์
 
 
ขั้นที่ 3 การจัดการให้เป็นระบบ ทีม KM ได้ร่วมกันระดมสมองผ่านระบบ Zoom Cloud Meeting เพื่อวางแผนการดำเนินงาน การรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลให้เป็นระบบ ซึ่งมีการแบ่งหน้าที่ตามความสนใจแต่ละบุคคล ทั้งนี้จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จึงเน้นการประชุมแบบออนไลน์
....

ขั้นที่ 4 การประมวลผลและกลั่นกรองความรู้ ทีม KM ได้จัดให้มีการประชุมเพื่อทบทวนการทำงานเป็นระยะๆ โดยเน้นแบบไม่เป็นทางการ

 

การทำให้ผู้ใช้ความรู้ซึ่งเน้นไปที่บุคลากรของสำนักศิลปะและวัฒนธรรมให้สามารถนำความรู้การพัฒนาทักษะการใช้งานโปรแกรม และอุปกรณ์พื้นฐานที่ใช้ในระแบบออนไลน์ โดยสามารถเข้าถึงความรู้ได้จากบนเว็บไซต์ของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ทั้ง www.koratculture.com และ www.koratmuseum.com ตลอดจนเป็นการประชาสัมพันธ์ให้ผู้สนใจทั่วไปสามารถเข้าถึงองค์ความรู้ได้อย่างสะดวก

 
ทีม KM ได้ร่วมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในการประชุมอย่างไม่เป็นทางการ และร่วมฝึกปฏิบัติจากสถานการณ์จริงใน 3 กิจกรรม ได้แก่ 1) กิจกรรมเวียนเทียนออนไลน์ (Hybrid) โดยได้รับความอนุเคราะห์จากสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นพี่เลี้ยงให้คำปรึกษาและสนับสนุนอุปกรณ์ในการดำเนินกิจกรรม 2) การใช้งานห้องประชุมเพื่อประชุมออนไลน์ (Meeting Online) 3) การถ่ายทอดสดกิจกรรมผ่าน Facebook (Live)
 
ขั้นที่ 7 เรียนรู้ บุคลากรทุกคนได้ร่วมกันสรุปบทเรียน โดยระบุความสำเร็จ ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะที่ได้จากการเรียนรู้ รวมทั้งการฝึกปฏิบัติโดยการแลกเปลี่ยนหน้าที่ตามความเหมาะสมของแต่ละกิจกรรม และตกลงร่วมกันจะนำองค์ความรู้ไปปฏิบัติให้เป็นส่วนหนึ่งของงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถปฏิบัติงานแทนกันได้อย่างราบรื่นโดยไม่สะดุด เพื่อก้าวไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ต่อไป
 
 
 

พิพิธภัณฑ์เมืองนครราชสีมา : Korat Museum.
อาคาร 10 ชั้น 2 สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา