ในขั้นตอนที่ 1 การบ่งชี้ความรู้ ได้สร้างกลไก คือ บุคลากรสายสนับสนุนของสำนักศิลปะและวัฒนธรรมทุกคน โดย ดร.ไสว กันนุลา หัวหน้าสำนักงานฯ เป็นประธาน และนายชุตินันท์ ทองคำ เป็นเลขานุการ KM นอกจากนี้ผู้บริหารของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ได้เป็นที่ปรึกษาในการจัดการความรู้ในครั้งนี้อีกด้วย
 
จากนั้นจึงประชุมระดมความคิดเห็นถึงความรู้ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงาน โดยมีความเห็นร่วมกันในการขยายงานในส่วนของพิพิธภัณฑ์เมืองนครราชสีมาที่ได้ดำเนินการจัดการความรู้ในส่วนของงานบริการแก่ผู้มาเยี่ยมชมไปแล้วในปีงบประมาณ 2558 นำมาสู่การปฏิบัติงานด้านการสงวนรักษาโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ที่จัดเก็บในคลังพิพิธภัณฑ์ จึงกำหนดเป็นประเด็นในการจัดการความรู้ คือ "แนวปฏิบัติที่ดีในการบริหารจัดการคลังวัตถุพิพิธภัณฑ์" โดยกำหนดให้มีการดำเนินการปฏิบัติการจัดการคลังวัตถุพิพิธภัณฑ์ไปพร้อมๆ กับการจัดการความรู้เพื่อให้เกิดผลงานที่เป็นรูปธรรม มาจากประสบการณ์จริง จึงได้ดำเนินการจัดทำแผนการจัดการความรู้เสนอต่อคณะผู้บริหาร
 
คลิ๊กเพื่อดู องค์ประกอบของงานในพิพิธภัณฑ์เมืองนครราชสีมา
 

เงื่อนไขเพิ่มเติม :
1. จะต้องไม่กระทบเวลาการทำงานหลัก และจะต้องบูรณาการกับกิจกรรมอื่นๆ และการตรวจประเมินประกันคุณภาพของสำนักศิลปะฯ อีกด้วย

2. จะต้องนำภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดเก็บ หรือรักษาสิ่งของมาใช้ในการบริหารจัดการคลังวัตถุพิพิธภัณฑ์อีกด้วย

คลิ๊กเพื่อดูแผนการจัดการความรู้ที่นี่
 
 

ในขั้นที่ 2 การสร้างและการแสวงหาองค์ความรู้

ได้ทำการวิเคราะห์ลักษณะงานที่ปฏิบัติในคลังพิพิธภัณฑ์เพื่อให้ทราบว่ามีความรู้ใดบ้างที่มีความจำเป็น โดยใช้ Mindmap เป็นเครื่องมือ และดำเนินการการรวบรวม ทบทวนองค์ความรู้จากเอกสาร ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการวัตถุพิพิธภัณฑ์ การอนุรักษ์โบราณวัตถุ หรือการดูแลพิพิธภัณฑ์

นอกจากนี้ ยังทบทวนจากสื่ออินเทอร์เน็ต อาทิ วิดีโอที่ปรากฏใน Youtube, เอกสาร Digital, และการทัศนศึกษา ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติมหาวีรวงศ์ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

โดยสาเหตุของการเลือกพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติมหาวีรวงศ์ เป็นสถานที่ทัศนศึกษา เนื่องจากเป็นพิพิธภัณฑ์ในสังกัดกรมศิลปกรที่มีการจัดแสดงนิทรรศถูกต้องตามหลักวิชาการ มีเนื้อหาคล้ายคลึงและขนาดใกล้เคียงกับพิพิธภัณฑ์เมืองนครราชสีมา

การวิเคราะห์ลักษณะงานในคลังวัตถุพิพิธภัณฑ์
การรวบรวม ทบทวนองค์ความรู้จากเอกสาร - สื่ออินเทอร์เน็ต
 
คู่มือการจัดทำทะเบียนโบราณวัตถุ ศิลปวัตุ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร (2550) การดูแลรักษาวัตถุพิพิธภัณฑ์ โดย คุณจิราภรณ์ อรัณยะนาค สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ คู่มือพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น โดย สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร (2550)

สำหรับผู้สนใจเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาวัตถุพิพิธภัณฑ์สามารถค้นคว้าเพิ่มเติมได้ที่ ห้องสารสนเทศทางศิลปวัฒนธรรม ชั้น 2 อาคาร 10 (ห้องด้านข้างพิพิธภัณฑ์เมืองนครราชสีมา)

 

การทำทะเบียนวัตถุในพิพิธภัณฑ์ โดย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ระบบทะเบียนพิพิธภัณฑ์ศิริราช โดย สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ การยึดชีวิตวัตถุในพิพิธภัณฑ์ โดย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร Museum inFocus ปี 2 : เบื้องหลังปฏิบัติการ (วัตถุ) พิพิธภัณฑ์ - คุณดิษพงศ์ เนตรล้อมวงศ์
 
การทัศนศึกษา ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติมหาวีรวงศ์ เพื่อศึกษารูปแบบการจัดแสดงวัตถุพิพิธภัณฑ์ การจัดทำป้ายคำอธิบายวัตถุ การดูและรักษาทำความสะอาดเบื้องต้น และการจัดเก็บวัตถุที่ไม่ได้จัดแสดง โดยวิธีการสอบถามและสังเกตุ

 

ในขั้นที่ 3 การจัดการองค์ความรู้ให้เป็นระบบ
เพื่อความสะดวกต่อการจัดการความรู้จึงได้ดำเนินการวิเคราะห์ลักษณะงานในคลังวัตถุพิพิธภัณฑ์ และได้ลงรายละเอียดปลีกย่อยให้เหมาะสมต่อลักษณะขององค์กร มีรายละเอียดดังนี้

ผลการวิเคราะห์ลักษณะงานในคลังวัตถุพิพิธภัณฑ์

จากนั้นจึงดำเนินการนำองค์ความรู้มาเรียบเรียงให้เป็นระบบในรูปแบบเอกสาร โดยได้จัดทำร่างคู่มือปฏิบัติงานสำหรับผู้ปฏิบัติงานในคลังวัตถุพิพิธภัณฑ์ ของสำนักศิลปะและวัฒนธรรมและรายละเอียดอื่นๆ
เนื้อหาที่จำเป็น ผังลำดับขั้นตอนที่จำเป็น เอกสารที่จำเป็น
การจำแนกแยกประเภท - กระบวนการจัดเก็บวัตถุพิพิธภัณฑ์
เริ่มตั้งแต่แรกรับ สู่ขั้นตอนจัดเก็บ และการให้บริการ
-
การจัดทำทะเบียน/ฐานข้อมูล - ขั้นตอนการจัดทำทะเบียนวัตถุพิพิธภัณฑ์ - แบบทะเบียนบัญชีวัตถุพิพิธภัณฑ์
- แบบฟอร์ม บัตรประจำตัววัตถุ
- แบบฟอร์ม ทะเบียนควบคุมรายการวัตถุ
การถ่ายภาพวัตถุพิพิธภัณฑ์ *** ส่วนหนึ่งของขั้นตอนการจัดทำทะเบียนวัตถุฯ -
การจัดทำคำอธิบายรายละเอียดวัตถุ *** ส่วนหนึ่งของขั้นตอนการจัดทำทะเบียนวัตถุฯ -
การจัดเก็บและการหีบห่อ - -
การทำความสะอาดเบื้องต้น - -
ภูมิปัญญาการจัดเก็บสิ่งของ - - แบบรายงานสภาพวัตถุพิพิธภัณฑ์
การให้บริการ - การให้บริการค้นคว้าในคลังวัตถุพิพิธภัณฑ์ -
- การให้ยืมวัตถุพิพิธภัณฑ์เพื่อจัดแสดงนอกสถานที่
- ตัวอย่างเอกสารขอเข้าค้นคว้าในคลังฯ
- ตัวอย่าง การยืม-คืนวัตถุพิพิธภัณฑ์

 

นอกจากนี้ยังได้ดำเนินงานควบคู่กับการจัดการความรู้ ดังนี้
(เกิดการพูดคุยแลกเปลี่ยนระหว่างการปฏิบัติงาน นำมาสู่การปรับการทำงานสม่ำเสนอ)

1. ขนย้ายวัตถุพิพิธภัณฑ์จากสถานที่จัดเก็บชั่วคร่าว มาสู่คลังวัตถุพิพิธภัณฑ์ และดำเนินการสำรวจประเภทของวัตถุครอบครองทั้งหมด

2. คัดแยก จำแนกประเภท สำรวจสภาพ เพื่อทำการวิเคราะห์การจัดเก็บที่เหมาะสม

3. จัดหาชั้นวางของ ตู้ กล่องบรรจุ หรือวัสดุอุปการณ์ในการบรรจุหีบห่อ การทำความสะอาด และการอนุรักษ์ในเบื้องต้น

 
 
 
ในขั้นที่ 3 การประมวลผลและกลั่นกรองความรู้ คณะกรรมการได้นำองค์ความรู้ที่จัดทำเป็นร่างคู่มือการปฏิบัติงาน มาประชุมเพื่อตรวจสอบเนื้อหาในเอกสารองค์ความรู้โดยบุคลากรของสำนัก โดยทบทวนถึงความรู้และประสบการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างการปฏิบัติงานด้วย
   
 
1. จัดทำแผ่นพับ แผยแพร่เนื้อหา ฉบับย่อ
2. จัดทำคู่มือการปฏิบัติงานสำหรับผู้ปฏิบัติงานในคลังวัตถุพิพิธภัณฑ์้้เมืองนครราชสีมา
3. จัดทำนิทรรศการเผยแพร่ผลการจัดการความรู้ จัดแสดง ณ บริเวณทางเข้าพิพิธภัณฑ์หรือคลังวัตถุพิพิธภัณฑ์
4. เผยแพรผลการจัดการความรู้ในเว็บไซต์พิพิธภัณฑ์เมืองนครราชสีมา
 
 
ถ่ายทอดองค์ความรู้จากการจัดการความรู้ โดยเน้นเนื้อหาในส่วนการอนุรักษ์และสงวนรักษา วัตถุพิพิธภัณฑ์ ประเภทเอกสารโบราณ แก่นักศึกษาโปรแกรมวิชาบรรณารักษ์ศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
และนำคู่มือการปฏิบัติงาน ส่งไปเผยแพร่ ณ หน่วยงานที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน
 
อยู่ระหว่างการดำเนินการ
 
 
เคล็ดลับ เทคนิค วิธีการ
- พูดคุยกันอย่างไม่เป็นทางการ ในบรรยากาศที่ไม่เคร่งเครียด ไม่เพิ่มภาระงานหลักแต่มุ่งแก้ปัญหาเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน
- มีการทบทวนภูิมิปัญญาพื้นฐานของไทยและโคราช ในเรื่องของรักษาโบราณวัตถุ หรือวัตถุสิ่งของทั่วไป
- มีการแสวงหาองค์ความรู้ที่เผยแพร่บนสื่ออินเทอร์เน็ต อาทิ วิดีโอบันทึกภาพการอบรมที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับการจัดการคลังวัตถุพิพิธภัณฑ์และการดูแลรักษาโบราณวัตถุ
- มีการดำเนินงานจริง เพื่อให้ได้องค์ความรู้ควบคู่กับการได้งานไปพร้อมๆ กัน เมื่อเกิดข้อสงสัยก็จะเกิดการพูดคุยแลกเปลี่ยนระหว่างการปฏิบัติงานได้ทันที นำมาสู่การแก้ไขปัญหาที่เหมาะสม
 
 
 
 

พิพิธภัณฑ์เมืองนครราชสีมา : Korat Museum.
อาคาร 10 ชั้น 2 สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา