หลักการและเหตุผล
แผนการจัดการความรู้
 
“คลังวัตถุพิพิธภัณฑ์” สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา มีลักษณะเป็นคลังปิด เป็นศูนย์กลางเก็บรวบรวมโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ที่ไม่ได้จัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์เมืองนครราชสีมามาสงวนรักษา จัดเก็บในสภาพที่เหมาะสมเพื่อลดการเสื่อมสภาพตามกาลเวลา โดยยึดหลักการจำแนกตามประเภทของวัตถุ รวมถึงเป็นที่สำหรับศึกษาค้นคว้ารายละเอียดโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ดังนั้นการมีคลังวัตถุพิพิธภัณฑ์ที่เป็นระบบจะทำให้พิพิธภัณฑ์เป็นแหล่งเรียนรู้ที่สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
ประโยชน์ของคลังวัตถุพิพิธภัณฑ์
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา


     - เป็นสถานที่จัดเก็บโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุที่ไม่ได้จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ มีความปลอดภัยจากภัยอันเกิดจากการกระทำของมนุษย์และการลดการเสื่อมสภาพตามกาลเวลา
     - เป็นสถานที่ศึกษาค้นคว้าสำหรับผู้สนใจ โดยจะต้องมีการจัดเก็บรักษาและจัดระบบ เพื่อให้ง่ายและสะดวกต่อการศึกษาค้นคว้า
     - เป็นสถานที่จัดเก็บวัตถุ อุปกรณ์ สำหรับนิทรรศการหมุนเวียน เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ซึ่งสามารถหมุนเวียนใช้งานหรือใช้ซ้ำได้ตามวาระต่างๆ ที่สอดคล้อง เพื่อเกิดการประหยัดงบประมาณ

ชนะเลิศการประกวดแนวปฏิบัิติที่ดีด้านบริหารจัดการ
และชนะเลิศการประกวดนิทรรศการ
จากมหกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
19 - 20 ตุลาคม 2559

 
ผลการจัดการความรู้
รายงานความก้าวหน้า
การจัดการความรู้ (KM)
Mind Map
การบริหารจัดการคลังวัตถุพิพิธภัณฑ์
แผ่นพับ
การจัดการความรู้ (KM)
ปก
Poster นำเสนอในงาน Show & Share
 
บทความ นำเสนอในงาน Show & Share Poster นำเสนอในงาน Show & Share Powerpoint นำเสนอในการประกวด แนวปฏิบัติที่ดี ด้านการบริหารจัดการ  
 
สถานะการดำเนินการ : เสร็จสิ้นกระบวนการ
 

พิพิธภัณฑ์เมืองนครราชสีมา : Korat Museum.
อาคาร 10 ชั้น 2 สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา