เรือนโคราช มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา จัดสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยเงินบริจาคของคณะศิษย์เก่าโรงเรียนฝึกหัดครูนครราชสีมา วิทยาลัยครูนครราชสีมา สถาบันราชภัฏนครราชสีมา และมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ซึ่งเรือนโคราชหลังนี้ได้ชะลอ (รื้อและย้าย) มาจากอำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา ที่มีอายุถึง ๑๑๑ ปี มีลักษณะโดดเด่นแตกต่างจากเรือนทั่วไป (เรือนมี ๒ จั่ว แต่มีพื้นที่ใช้สอยเทียบเท่าเรือน ๓ จั่ว) มีการสอดประสานชิ้นส่วนต่างๆ เข้าด้วยกันเป็นองค์อาคารได้อย่างแข็งแรง มั่นคง สะท้อนให้เห็นอัจฉริยภาพและปัญญาสร้างสรรค์ของช่างท้องถิ่นโคราชที่มีความริเริ่ม มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับระบบโครงสร้าง แตกต่างอย่างเป็นเอกลักษณ์ ทำหน้าที่เป็นข้อมูลสำคัญทางประวัติศาสตร์และเป็นแหล่งเรียนรู้ทางภูมิปัญญาของท้องถิ่นชาวโคราชสืบไป

ซึ่งการดำเนินงานในระยะของการก่อสร้างได้เสร็จสิ้นแล้ว สำนักศิลปะและวัฒนธรรม จึงมีแผนในการดำเนินการลำดับต่อไป คือ การนำเสนอเนื้อหาทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับเรือนโคราชด้วยเทคนิคต่างๆ อย่างมีสุนทรียภาพ อาทิ การบรรยายทางวิชาการ การจัดทำเอกสารทางวิชาการ การประชาสัมพันธ์ หรือกระบวนการอื่นๆ ดังนั้นจึงมาสู่การลงความเห็นร่วมกันว่าในปีงบประมาณ ๒๕๖๐ จะได้ดำเนินการจัดการความรู้ในเรื่อง “องค์ความรู้ที่ซ่อนอยู่ในเรือนโคราช มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา” เพื่อระดมองค์ความรู้สู่โครงสร้างเนื้อหาหลักประกอบการนำเสนอเนื้อหาทางวิชาการของเรือนโคราชต่างๆ อย่างมีสุนทรียภาพ

 

 
 
ชื่อองค์ความรู้ : องค์ความรู้ที่ซ่อนอยู่ในเรือนโคราช มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
ผู้รับผิดชอบองค์ความรู้ บุคลากรสายสนับสนุน สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์ ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาการให้การบริการฐานข้อมูลทางศิลปวัฒนธรรม
กลยุทธ์ที่ 4 การเสริมสร้างศักยภาพแหล่งเรียนรู้ทางศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
วัตถุประสงค์ เพื่อค้นหาองค์ความรู้ในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรือนโคราช มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา สำหรับใช้เป็นต้นทุนในการผลิตเอกสาร สื่อ นิทรรศการ หรือเทคนิคการนำเสนอเนื้อหารูปแบบอื่นๆ
ผู้ใช้ข้อมูล

๑ บุคลากรสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
๒ ผู้มาเยี่ยมชมเรือนโคราช มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

ผลลัพธ์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น

องค์ความรู้หรือผลลัพธ์ที่ได้จากการจัดการความรู้ เรื่อง องค์ความรู้ที่ซ่อนอยู่ในเรือนโคราช มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา จะเป็นการรวมข้อคำถาม ข้อสงสัย จากผู้ชมหลายกลุ่มเพื่อนำมาสร้างเอกสารที่รวบรวมคำตอบที่ถูกจัดเรียงเป็นหมวดหมู่ และตอบข้อสงสัยโดยผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ ของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม เพื่อนมาเป็นแนวทางในการจัดทำเอกสาร สื่อ นิทรรศการ หรือเทคนิคการนำเสนอเนื้อหารูปแบบอื่นๆ ในลำดับต่อไป

  อาทิ 1) การผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ 2) การผลิตสื่อการเรียนรู้ 3) นิทรรศการ 4) เอกสารทางวิชาการ 5) เทคนิคการนำเสนอรุปแบบอื่นๆ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในรูปแบบอื่นๆ
   
 
 
 
 

พิพิธภัณฑ์เมืองนครราชสีมา : Korat Museum.
อาคาร 10 ชั้น 2 สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา