|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
แนวความคิดของการจัดการความรู้ (KM Concept) คือ การบูรณาการพัฒนาบุคลากรด้วยการจัดการความรู้เข้ากับยุทธศาสตร์ของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ในประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 ของสำนักฯ “การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ระบบสารสนเทศด้านศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น”
|
|
|
การบ่งชี้ความรู้ เริ่มต้นโดยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดการความรู้ของสำนักศิลปะและวัฒนธรรมเพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนการจัดการความรู้ (แบบเป็นทางการ) โดยมีบุคลากรทุกคนเป็นคณะทำงานและร่วมกันพิจารณาเป้าหมาย และมีผู้บริหารของสำนักเป็นผู้อำนวยความสะดวก (Facilitator) และคอยให้ข้อเสนอแนะในการดำเนินงาน
จากนั้นจึงได้มอบหมายหน้าที่ แบบไม่เป็นทางการเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตามความสนใจของแต่ละบุคคล ความรู้เกิดขึ้นได้อย่างอิสระ หลากหลาย ในบรรยากาศที่ไม่เคร่งเครียด ตามหัวข้อการจัดการความรู้ เรื่อง “สืบสานวันวานกับการอนุรักษ์ยุ้งข้าวโบราณ : วิถีวัฒนธรรมข้าวของชาวโคราช"
|
|
|
|
|
|
ความรู้เฉพาะตัว หรือความรู้ที่ฝังอยู่ในคน Tacit Knowledge
- การประชุมระดมสมองเพื่อหารือแนวทางการจัดสร้างยุ้งข้าวโบราณ
- การร่วมบันทึกข้อมูลการดำเนินงานทั้งหมดทุกขั้นตอน (ความรู้ที่เกิดขึ้นระหว่างการปฏิบัติงาน) |
|
|
- การสัมภาษณ์ คณะศิษย์เก่า ป.กศ. รุ่น 5 วิทยาลัยครูนครราชสีมา คณะผู้บริจาคยุ้งข้าวโบราณ พร้อมทุนทรัพย์ในการก่อสร้าง
- การสัมภาษณ์ นายวุฒิเดช ครจำนงค์ ศิษย์เก่า ป.กศ. รุ่น 5 วิทยาลัยครูนครราชสีมา ผู้บริจาคยุ้งข้าวโบราณ
|
|
- การเข้าร่วมรับฟังการนำเสนอแบบก่อสร้างยุ้งข้าวโบราณ โดย ผศ.ดร.การุณ ศุภมิตรโยธิน อาจารย์ประจำหลักสูตรสถาปัตยกรรม คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
- การพูดคุยอย่างไม่เป็นทางการ โดย อ.สุชาติ พิมพ์พันธ์ รองผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ผู้จัดทำโมเดลต้นแบบ และผู้ควบคุมการก่อสร้างหลัก
|
|
ความรู้ทั่วไป หรือความรู้ชัดแจ้ง Explicit Knowledge
|
|
- แบบการก่อสร้าง โดย ผศ.ดร.การุณ ศุภมิตรโยธิน อาจารย์ประจำหลักสูตรสถาปัตยกรรม คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา |
|
|
|
|
|
การวางแผนการดำเนินงานทุกขั้นตอน เพื่อนำมาวางแผนการจัดเก็บข้อมูล
|
โดยมีการแบ่งภาระหน้าที่ตามความสนใจ มีรายละเอียดังนี้
- การถ่ายภาพขั้นตอนการก่อสร้างทั้งหมด โดย 1) นายสุรชัย เดชชัยพิทักษ์ 2) นายอัครพล อินทกูล 3) นายพรมงคล นาคดี
- การจัดเก็บข้อมูลประวัติการใช้งานยุ้งแม่หมั่น ของครอบครัวครจำนงค์ ผู้บริจาคตัวอาคารยุ้ง โดยนายชุตินันท์ ทองคำ
- การบันทึกวิดิทัศน์สัมภาษณ์องค์ความรู้ในมิติต่างๆ โดย นายสุรชัย เดชชัยพิทักษ์
- การจัดทำเอกสาร บักทึกภาพและขั้นตอนการก่อสร้าง ยุ้งแม่หมั่น ยุ้งข้าวโบราณของชาติพันธุ์ไทโคราช โดย บุคลากรสำนักศิลปะและวัฒนธรรมทุกคน |
|
|
|
|
การประชุมเพื่อทบทวนการทำงาน และสรุปองค์ความรู้ที่ได้ ทั้งในรูปแบบทางการ และไม่เป็นทางการ
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
การเผยแพร่วิดิทัศน์สัมภาษณ์ อาจารย์สุชาติ พิมพ์พันธ์ รองผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม บันทึกโดย นายสุรชัย เดชชัยพิทักษ์
|
|
|
|
|
การเผยแพร่วิดิทัศน์สัมภาษณ์ นายวุฒิเดช ครจำนงค์ ผู้บริจาคยุ้งข้าวโบราณ และนางบุบผา รุจิรวรรธน์ ศิษย์เก่า ป.กศ. รุ่น 5 วิทยาลัยครูนครราชสีมา บันทึกโดย นายสุรชัย เดชชัยพิทักษ์
|
|
|
|
การจัดทำมุมมอง 360 องศา ด้วย Google Street View โดย คุณอัครพล อินทกูล
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
- การจัดทำเอกสาร บักทึกภาพและขั้นตอนการก่อสร้าง ยุ้งแม่หมั่น ยุ้งข้าวโบราณของชาติพันธุ์ไทโคราช
|
|
|
|
- การคิดร่วมพัฒนา การจัดการพื้นที่บริเวณโดยรอบยุ้งข้าวและส่วนเชื่อมต่อของเรือนพ่อคง เรือนโคราช มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
|
|
|
|
- การจัดทำโครงร่างเนื้อหานิทรรศการประกอบยุ้ง (อยู่ในการดำเนินงานในลำดับถัดไป)
|
|
|
|
|
คุณสุรชัย เดชชัยพิทักษ์ ตัวแทนคณะกรรมการ KM สำนักศิลปะและวัฒนธรรม เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในงาน NRRU Show & Share 2020 เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2563 |
|
ปัจจัยสู่ความสำเร็จ |
- มีการบูรณาการเข้ากับกิจกรรมพัฒนาบุคลากร โดยอาศัยบรรยากาศอย่างไม่เป็นทางการ
- การเปิดรับมุมมองที่หลากหลาย โดยเฉพาะมุมมองในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ทางศิลปวัฒนธรรมโดยใช้องค์ความรู้ในด้านการจัดการแหล่งท่องเที่ยวและนักท่องเที่ยว
- เป็นการปฏิบัติงานเน้นกระบวนการมีส่วนร่วม ร่วมคิด ร่วมพัฒนา ทั้งผู้บริหาร บุคลากร หน่วยงานมหาวิทยาลัยที่เกี่ยวข้อง และคณะศิษย์เก่า |
แนวปฏิบัติที่ดี |
1. การปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (เรียนรู้พร้อมกับการพัฒนา) ในการจัดการความรู้ในกระบวนการจัดสร้างยุ้งข้าวโบราณ
2. การปรับตัว ในยุคการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยการนำเทคโนโลยีมาอำนวยความสะดวกในการจัดการความรู้และการเผยแพร่องค์ความรู้
3. การจัดการความรู้ที่มุ่งเน้นตามความสนใจของแต่ละบุคคล โดยมีจุดมุ่งหมายปลายเดียวกัน คือ การสร้างองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการจัดสร้างยุ้งข้าวโบราณ |
|
|
|
|
|
พิพิธภัณฑ์เมืองนครราชสีมา : Korat Museum.
อาคาร 10 ชั้น 2 สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา |
|