แนวความคิดของการจัดการความรู้ (KM Concept) คือ ยึดความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของสำนักศิลปะและวัฒนธรรมเป็นหลัก โดยเฉพาะในประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 ของสำนักฯ “การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ระบบสารสนเทศด้านศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น”
ขั้นที่ 1 บ่งชี้ความรู้โดยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดการความรู้ของสำนักศิลปะและวัฒนธรรมเพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนการจัดการความรู้ โดยมีบุคลากรทุกคนเป็นคณะทำงานและร่วมกันพิจารณาเป้าหมาย และมีผู้บริหารของสำนักเป็นผู้อำนวยความสะดวก (Facilitator)และคอยให้ข้อเสนอแนะในการดำเนินงาน บุคลากรได้ร่วมกันประชุมเพื่อพิจารณาวิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ และเป้าหมายของสำนักศิลปะและวัฒนธรรมตลอดจนเครื่องมือความรู้เดิม รูปแบบ และบุคคลที่สามารถให้ความรู้นั้นได้เพื่อให้ตอบโจทย์ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างคุณค่าทางศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่สากลและการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งมีเป้าหมายที่จะพัฒนาแหล่งเรียนรู้พิพิธภัณฑ์เป็นภาษาอังกฤษ จึงได้ระบุประเด็นการจัดการรู้ในการพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรในการปฏิบัติหน้าที่เป็น “นักสื่อความหมาย” หรือมัคคุเทศก์ให้ความรู้ในพิพิธภัณฑ์
แผนการจัดการความรู้ ปี 2561
 
 
ขั้นที่ 2 สร้างและแสวงหาความรู้เป็นการสร้างความรู้ใหม่โดยแสวงหาความรู้ทั้งจากภายนอก รักษาความรู้เก่า บุคลากรร่วมกันทบทวนเอกสารองค์ความรู้เก่าเมื่อปี พ.ศ. 2558 ที่เคยได้ดำเนินการไว้แล้วเกี่ยวกับการให้บริการที่ดีต่อผู้มาเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์เมืองนครราชสีมาและร่วมกันปัดฝุ่นใหม่โดยกำหนดประเด็นในการพัฒนาการให้บริการแก่ผู้เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์เมืองนครราชสีมาซึ่งเน้นไปยังชาวต่างประเทศ ซึ่งพบว่ามีเพิ่มขึ้นในปัจจุบัน และสอดคล้องกับเป้าหมายในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้พิพิธภัณฑ์ตามที่กำหนดไว้ในขั้นแรกมีการจัดให้มีกิจกรรมรวบรวมความรู้และประสบการณ์จำนวน 3 ครั้ง ประกอบด้วย(1)จากผู้ทรงคุณวุฒิภายในหัวข้อ “เทคนิคการเป็นนักสื่อความหมายในพิพิธภัณฑ์ที่ดี”(2)จากผู้ทรงคุณวุฒิทั้งภายนอก หัวข้อ“ภาษาอังกฤษสำหรับสำหรับนักสื่อความหมายในพิพิธภัณฑ์เบื้องต้น”และ(3) จากประสบการณ์ตรงของบุคลากรที่เคยปฏิบัติงานให้บริการต้อนรับผู้เยี่ยมชมชาวต่างประเทศ หัวข้อ“ประสบการณ์ของนักสื่อความหมายในพิพิธภัณฑ์”
(1) จากผู้ทรงคุณวุฒิภายในหัวข้อ “เทคนิคการเป็นนักสื่อความหมายในพิพิธภัณฑ์ที่ดี”
โดย ผศ.ดร.ณัฏฐินี ทองดี อาจารย์ประจำหลักสูตรอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและธุรกิจบริการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
(2) จากผู้ทรงคุณวุฒิทั้งภายนอก หัวข้อ“ภาษาอังกฤษสำหรับสำหรับนักสื่อความหมายในพิพิธภัณฑ์เบื้องต้น”

โดย ดร.แวววลี แววฉิมพลี อาจารย์ในหลักสูตรภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
(3) จากประสบการณ์ตรงของบุคลากรที่เคยปฏิบัติงานให้บริการต้อนรับผู้เยี่ยมชมชาวต่างประเทศ หัวข้อ“ประสบการณ์ของนักสื่อความหมายในพิพิธภัณฑ์”

โดย คุณพรมงคล นาคดี นักวิชาการคอมพิวเตอร์ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
 
 
ขั้นที่ 3 จัดความรู้ให้เป็นระบบ เป็นการวางโครงสร้างความรู้ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเก็บความรู้อย่างเป็นระบบเพื่อการเรียกใช้งานได้อย่างรวดเร็วและถูกต้องในอนาคต มีการจัดทำเอกสารคู่มือ จำนวน 1 เรื่อง“การพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของนักสื่อความหมายในพิพิธภัณฑ์” ซึ่งเป็นความรู้ที่ได้จากการแสวงหาและรวบรวมความรู้ และจัดทำเป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์
 
ขั้นที่ 4 ประมวลและกลั่นกรองความรู้เป็นการปรับปรุงรูปแบบเอกสารให้เป็นมาตรฐาน ใช้ภาษาเดียวกัน และปรับปรุงเนื้อหาให้สมบูรณ์และเหมาะสมโดยมีบุคลากรร่วมกันประชุมเพื่อตรวจสอบและกลั่นกรองข้อมูลเอกสารคู่มือการพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของนักสื่อความหมายในพิพิธภัณฑ์ อย่างน้อย 1 ครั้ง ก่อนนำความรู้ที่ได้ไปเผยแพร่ให้บุคลากรที่ปฏิบัติงานและผู้สนใจทั่วไป
 
ขั้นที่ 5 เข้าถึงความรู้ เป็นการทำให้ผู้ใช้ความรู้ซึ่งเน้นไปที่บุคลากรของสำนักศิลปะและวัฒนธรรมให้สามารถนำความรู้การพัฒนาทักษะของนักสื่อความหมายในพิพิธภัณฑ์ที่ได้ไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางให้บริการแก่ผู้เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์เมืองนครราชสีมาทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้บุคลากรสามารถปฏิบัติงานแทนกันได้ โดยสามารถเข้าถึงความรู้ได้จากบนเว็บไซต์ของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม (http://www.koratmuseum.com) ตลอดจนเป็นการประชาสัมพันธ์ให้ผู้สนใจทั่วไปสามารถเข้าถึงองค์ความรู้ได้อย่างสะดวก
 

ดำเนินการจัดทำคู่มือที่สรุปจากการดำเนินการจัดความรู้ทั้งอยู่ในวิทยากร และผู้มีประสบการณ์ในการสื่อความหมายให้กับผู้ชมทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ โดยผ่านการตรวจสอบจากคณะผู้บริหารของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม และมอบให้กับบุคลากรทุกท่าน ประกอบไปด้วย 2 เล่ม ได้แก่

1) คู่มือนักสื่อความหมาย พิพิธภัณฑ์เมืองนครราชสีมา
(สรุปเนื้อหาภาษาไทย จุดเน้น จุดเด่น)
2) 30 คำศัพท์ที่พบบ่อยในพิพิธภัณฑ์เมืองนครราชสีมา
 
 
ขั้นที่ 6 แบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้บุคลากรได้ร่วมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้การพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของนักสื่อความหมายในพิพิธภัณฑ์ จากเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เอกสารคู่มือ ฐานข้อมูลความรู้แบบอิเล็กทรอนิกส์บนเว็บไซต์หรือรูปแบบอื่นๆ อย่างน้อย 1 ครั้ง และนอกจากนี้บุคลากรยังได้มีการฝึกปฏิบัติจากสถานการณ์จริงเพื่อให้บริการแก่ผู้เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์เมืองนครราชสีมาที่เป็นชาวต่างประเทศ จำนวน 1 ครั้ง โดยการฝึกการกล่าวทักทาย การกล่าวต้อนรับ และการกล่าวลาเป็นภาษาอังกฤษ อย่างน้อยคนละ 1 ประโยค ซึ่งส่งผลให้ผู้เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ดังกล่าวมีรอยยิ้ม รู้สึกหรรษา และประทับใจต่อบุคลากรที่ให้บริการ
 
การเผยแพร่ในรูปแบบบทความแนวปฏิบัติที่ดีตีพิมพ์เผยแพร่ในเอกสารประกอบมหกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครั้งที่ 6 และมีการจัดแสดงนิทรรศการในงาน เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2561 ณ ศูนย์รวมประกาศข่าว มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
แผ่นพับสรุปผลการดำเนินการ บทความ หนังสือรวมแนวปฏิบัติที่ดี
km ม.ราชภัฏนครราชสีมา
 
 
ขั้นที่ 7 เรียนรู้เป็นขั้นที่บุคคลากรทุกคนได้มาประชุมสรุปบทเรียนการจัดการความรู้ในการให้บริการแก่ผู้เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์เมืองนครราชสีมา โดยระบุความสำเร็จ ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะที่ได้จากการเรียนรู้ รวมทั้งการฝึกปฏิบัติจากสถานการณ์จริง และตกลงกันจะนำไปปฏิบัติให้เป็นส่วนหนึ่งของงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถปฏิบัติงานแทนกันได้อย่างราบรื่นโดยไม่สะดุด เพื่อก้าวไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ต่อไป

การประยุกต์ใช้ความรู้จาก tacit knowledge ที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดีมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง
ดำเนินการโดยการฝึกปฏิบัติการต้อนรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ อาทิ
- บุคลากรทุกคน ฝึกปฏิบัติการต้อนรับ นักศึกษาแลกเปลี่ยนจากประเทศบรูไนดารุสซาราม
- คุณอัครพล อินทกูล ฝึกปฏิบัติในการต้อนรับนักศึกษาแลกเปลี่ยนจากประเทศญี่ปุ่น และประเทศจีน



 
ปัจจัยสู่ความสำเร็จ


          1. เทคนิค
1. นัดหมายการจัดกิจกรรมล่วงหน้าเพื่อให้บุคลากรได้มีเวลาเตรียมความพร้อม
2. เปิดโอกาสให้บุคลากรแสดงความคิดเห็นตามประสบการณ์ด้วยความสมัครใจ
3. แสวงหาและรวบรวมความรู้ตามประเด็นที่บุคลากรสนใจ
4. เชิญผู้บริหารเข้าร่วมกิจกรรมทุกครั้ง และให้ข้อเสนอแนะอย่างเป็นมิตร
          2. วิธีการ
1. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้แก่บุคลากรตามความต้องการ
2. เชิญวิทยากรจากภายนอกมาร่วมถ่ายทอดและเพิ่มพูนประสบการณ์ที่หลากหลาย
3. เปิดโอกาสให้บุคลากรได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้และแสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่
4. มีการฝึกปฏิบัติให้บุคลากรได้ทดลองใช้องค์ความรู้ในสถานการณ์จริง
          3. เคล็ดลับ
1. เปิดใจรับฟังความคิดเห็นของเพื่อนร่วมงาน
2. สร้างบรรยากาศการแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยไม่เคร่งเครียดหรือเป็นทางการเกินไป
3. ผู้บริหารคอยเสริมแรงและให้กำลังใจบุคลากรเสมอ

 
 
 

พิพิธภัณฑ์เมืองนครราชสีมา : Korat Museum.
อาคาร 10 ชั้น 2 สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา