The Study and Development of Local Literature of Kham Pra Kai Kaew, Sida District, Nakhon Ratchasima Province to Create Mudmee Silk Products from Unused Silk to Add Value Using New Techniques
 
การศึกษาและพัฒนาวรรณกรรมพื้นถิ่น กำพร้าไก่แก้ว อำเภอสีดา จังหวัดนครราชสีมา
สู่การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ผ้าไหมมัดหมี่จากส่วนเหลือทิ้งเพื่อการเพิ่มมูลค่าด้วยเทคนิคใหม่
 
*****************************************************************
 
The name Sida comes from the local literature of “Kham Pra Kai Kaew” of Sida district, Nakhon Ratchasima province. The story tells of Kham Pra, who, upon seeing a beautiful, fragrant hen, chased it. But when the rooster ran and hid in a hole, he followed and found a beautiful young woman named Si Da who had transformed into the glass hen. The two fell in love and faced many challenges before finally getting married. This story has been passed down through many generations, making “Sida” and the “Glass Hen” symbols of Sida District, Nakhon Ratchasima Province, Thailand
 
คำว่า "สีดา" อาจจะมาจากวรรณกรรมพื้นถิ่นเรื่อง "กำพร้าไก่แก้ว" ของอำเภอสีดา จังหวัดนครราชสีมา ที่กล่าวถึง ท้าวกำพร้าเข้าไปต่อไก่ในป่า เจอไก่แก้วซึ่งนางสีดาแปลงกายมา จึงไล่ต่อไก่จนหนีลงรูไป คว้าได้เพียงหางเส้นหนึ่ง ที่มีกลิ่นหอม ซึ่งเป็นต้นเหตุของเรื่องที่ทำให้ท้าวกำพร้าต้องลงรูไปเพื่อตามหาไก่แก้ว และร่วมฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆ จนครองรักกันในที่สุด เรื่องนี้ถูกเล่าต่อกันมาหลายช่วงอายุคน ทำให้ “สีดา” และ “ไก่แก้ว” กลายเป็นสัญลักษณ์ของอำเภอสีดา
 
 
Bo Kai Kaew Archaeological Site, Sida District, Nakhon Ratchasima Province
โบราณสถานบ่อไก่แก้ว อำเภอสีดา จังหวัดนครราชสีมา
 
 
 
Literature: Kham Pra Kai Kaew, palm leaf scriptures
วรรณกรรม เรื่อง ท้าวกำพร้าไก่แก้ว ฉบับใบลาน
 
The silk weaving group in Sida is skilled in creating Mudmee silk. However, the traditional manufacturing process is time-consuming since patterns have to be designed on paper first, and then threads are tied according to the designed patterns, dyed, and then woven. There are unused threads left after dyeing. This led to studying the design and creation of Mudmee silk with Kai Kaew (Glass hen) patterns inspired by the local literature, aiming to innovate something new, using processes different from the traditional ones that attract interest. It is not only a sustainable approach but also a creative way to add value to materials into unique and marketable products. This includes:
 
กลุ่มทอผ้าอำเภอสีดามีความชำนาญในการทอผ้าไหมมัดหมี่ที่ทำให้ผืนผ้าเป็นลวดลายต่างๆ แต่กระบวนการผลิตดั้งเดิมนั้นใช้เวลามาก เนื่องจากต้องออกแบบลายบนกระดาษแล้วจึงจะทำการเอาเชือกมามัดเส้นไหมตามลวดลายที่ได้ออกแบบไว้ แล้วจึงนำไปย้อมสี และทอเป็นผืนผ้า และพบว่ามีเส้นไหมที่ผ่านการย้อมบางส่วนเหลือทิ้ง จึงนำมาสู่กระบวนการศึกษาการออกแบบสร้างสรรค์ผ้ามัดหมี่ลายไก่แก้วจากวรรณกรรมพื้นถิ่น เพื่อสร้างสรรค์ให้เป็นสิ่งใหม่ กระบวนการที่ไม่ซ้ำกับกระบวนการดั้งเดิม สามารถดึงดูดความสนใจ และเป็นการสร้างผลิตภัณฑ์จากวัสดุเหลือใช้ ไม่เพียงแต่เป็นแนวทางที่ยั่งยืน แต่ยังเป็นวิธีที่สร้างสรรค์ในการเพิ่มมูลค่าให้กับวัสดุเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีเอกลักษณ์และทำการตลาดได้ ดังนี้
 
 
Dyed silk Leftover from weaving
เส้นไหมที่ผ่านการย้อมเหลือจากการทอผ้า
 
 
 
Mudmee silk pattern design on paper
การออกแบบลวดลายผ้าไหมมัดหมี่บนกระดาษ
 
 
 
 
Identifying distinct characteristics (strengths) and uniqueness (differences) for use as a foundation in designing patterns on fabric.
 
การค้นหาอัตลักษณ์ (จุดเด่น) และเอกลักษณ์ (จุดแตกต่าง) เพื่อนำมาเป็นต้นทุนในการออกแบบลายบนผืนผ้า
 
 
 
 
 
การถอดรหัสการสร้างลายผ้าไหมเชิงเทคนิค ชูองค์ความรู้พิเศษของชุมชนพัฒนาให้ช่างทอผ้ากลายเป็นนักออกแบบลายผ้า โดยใช้เลโก้เป็นเครื่องมือ ในการถอดแบบ ตีความลวดลาย ให้กลายเป็นต้นฉบับสำหรับการมัดย้อมและการทอ
 
Decoding the creation of silk patterns technically, elevating the community's specialized knowledge, and turning weavers into pattern designers using LEGO as a tool to interpret and adapt patterns for tie-dyeing and weaving.
 
 
 
 
Using designed LEGO to tie the leftover silk threads, which are selected in various colors. When dyed, the tied parts retain their original colors. When these threads are woven, the fabric will have overlaid patterns; for example, a pattern of a rooster with alternating colors in another layer.
 
นำเลโก้ที่ผ่านการออกแบบมาทำการมัดเส้นไหมที่เคยเป็นส่วนเหลือทิ้ง ซึ่งเลือกใช้เส้นไหมที่มีหลายสี ซึ่งการมัดตามลวดลายที่ออกแบบไว้ เมื่อนำไปล้างสีที่เคยย้อมไว้ สีส่วนมัดไว้จะยังคงอยู่ เมื่อนำเส้นไหมที่ผ่านกระบวนการไปทอ จะเกิดผ้าที่มีลวดลายซ้อนลวดลาย คือ ผ้าเกิดเป็นลายไก่ที่มีสีสลับอยู่ภายในอีกชั้นหนึ่ง
 
 
 
 
Repeat the same process but with additional techniques to observe the outcomes of experimentation, with designers enhancing the fashion aspect.
 
จากนั้นทำซ้ำกระบวนการเดิมแต่เทคนิคเสริมอื่นๆ เพื่อสังเกตผลที่เกิดจาการทดลอง โดยนักออกแบบช่วยเติมเต็มงานด้านแฟชั่น
 
 
 
Exchange and transfer techniques and processes resulting from research studies to stimulate the preservation of knowledge and wisdom from older generations, integrating creative ideas from the new generation, bridging the generational gap, and presenting conservation combined with progressive development.
 
การแลกเปลี่ยน เรียนรู้ ถ่ายทอดเทคนิค กระบวนการที่เกิดขึ้นจากการศึกษาวิจัย เพื่อกระตุ้นให้เกิดการนำคุณค่าเป็นที่องค์ความรู้และภูมิปัญญาของคนรุ่นก่อน แล้วนำมาผสมผสานความคิดสร้างสรรค์โดยคนรุ่นใหม่ เป็นการผสานช่องว่างระหว่างวัย และนำเสนอการอนุรักษ์ควบคู่กับการพัฒนาต่อยอดได้อย่างสมดุล
 
 
 

  The results from the research found that woven fabric products are valued twice as much as before, are marketable, and possess unique local characteristics.

 
ผลผลิตจากงานวิจัยพบว่า ผลิตภัณฑ์ผ้าทอมีมูลค่ามากกว่าเดิมถึงสองเท่า สามารถจำหน่ายในเชิงพานิชได้ ผลิตภัณฑ์มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของท้องถิ่น
 
 
 
 
 
 
 

 

 
 

พิพิธภัณฑ์เมืองนครราชสีมา : Korat Museum.
อาคาร 10 ชั้น 2 สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา