ดำเนินการจัดสร้างโดยเงินบริจาคของคณะศิษย์เก่า โรงเรียนฝึกหัดครู วิทยาลัยครู สถาบันราชภัฏ และมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
 
     
     
 
“เรือนพ่อคง เรือนโคราช มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา” ได้รับรางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่น ประจำปี 2561
ประเภทอาคารสถาบันและอาคารสาธารณะ จากสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมป์
 
เรือนพ่อคง เป็นแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวโคราช ในรูปแบบพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งที่เปิดกว้างสำหรับบุคคลทั่วไปได้เข้ามาศึกษาหาความรู้ หรือพักผ่อนได้ตามอัธยาศัย และที่สำคัญที่สุดคือ การมีบทบาทในการสร้างความตระหนักรู้ถึงคุณค่าความสำคัญของภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ และอัตลักษณ์ของคนโคราช ซึ่งจะมาสู่การอนุรักษ์เรือนโคราชหลังอื่นๆ ต่อไปในอนาคต
 

 

 
ทำไมศิษย์เก่าจึงต้องสร้างเรือนโคราช?    
 

 

ดร.นิเชต สุนทรพิทักษ์ ท่านเป็นทั้งศิษย์เก่า ป.ป. รุ่น 1 โรงเรียนฝึกหัดครูนครราชสีมา และอดีตอาจารย์วิทยาลัยครูนครราชสีมา เป็นผู้นำทางความคิดที่เป็นหลักในการจัดสร้างเรือนโคราชมอบให้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา โดยคณะศิษย์เก่าโรงเรียนฝึกหัดครูนครราชสีมา วิทยาลัยครูนครราชสีมา สถาบันราชภัฏนครราชสีมา และมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ได้มีความเห็นพ้องต้องกันว่ามหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา เป็นสถาบันการศึกษาที่มุ่งพัฒนาให้นักศึกษามีความเป็นเลิศด้านวิชาการบนพื้นฐานของภูมิปัญญาท้องถิ่น ดังนั้นการจัดสร้างเรือนโคราช คือ คำตอบทั้งหมดของภารกิจของสถาบันการศึกษาแห่งนี้เกี่ยวกับชีวิตและจิตวิญญาณของความเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นโคราชได้อย่างสมบูรณ์   คณะศิษย์เก่าฯ ได้แสดงออกถึง “ความกตัญญู” ที่มีต่อสถาบันการศึกษาที่ประสิทธิ์ประสาทวิชา สร้างประสบการณ์ ทำให้มีจุดยืนในอาชีพที่มั่นคง สร้างครอบครัวที่ดี และยืนหยัดในสังคมได้อย่างมีศักดิ์ศรีและเกียรติภูมิ ด้วยการร่วมกันบริจาคทรัพย์ เพื่อจัดสร้างเรือนโคราช ณ ใจกลางมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาของชาวโคราชในหลายมิติ ถือเป็นมรดกที่รุ่นพี่จะส่งมอบแก่รุ่นน้อง เพื่อตอบแทนคุณแก่สถาบันการศึกษา และเพื่อแบบอย่างของความกตัญญูและความสมัครสมานสามัคคีของเพื่อนผองน้องพี่ที่ถึงแม้จะจบการศึกษาไปนานเท่าใดก็ยังคงนึกถึงบุญคุณของสถาบันการศึกษาและคณาจารย์แห่งนี้เสมอมา

ผศ.นฤมล ปิยวิทย์
อดีตผู้อำนวยการสำนักศิลปวัฒนธรรม

 



ภาพถ่ายโดย คุณคุญช่วย ปิยวิทย์

 

ผศ.นฤมล ปิยวิทย์ อดีตผู้อำนวยการสำนักศิลปวัฒนธรรม ได้นำเสนอถึงเรือนที่มีเอกลักษณะเฉพาะตามแบบโคราช ซึ่งอยู่ ณ อำเภอคง ต่อ ดร.นิเชต สุนทรพิทักษ์ ซึ่งท่านได้มีความสนใจ และเดินทางไปดูเรือนหลังนี้พร้อมกับอ.สุมาลัย (ภรรยา) เมื่อได้เห็นท่านรู้สึกตื่นเต้น แปลกใจ ทั้งความเก่าและรูปแบบที่แตกต่างจากบ้านทั่วไป และคิดว่าถ้าได้ชะลอไปตั้งในที่เด่น และเหมาะสม ตกแต่งซ่อมแซมให้สมบูรณ์เท่าที่จะทำได้ เปิดโอกาสให้ประชาชนมาเยี่ยมชมภูมิปัญญาทางสถาปัตยกรรมที่ปรากฏให้เห็นจะเกิดประโยชน์ และมีคุณค่ากว้างไกล การดำเนินงานระดมขอรับบริจาคจากศิษย์เก่าฯ จึงเริ่มต้นขึ้น (24 มค 2559)  
 


ภาพถ่ายโดย นายสุนทร ฉิมปรุ งานประชาสัมพันธ์ ม.ราชภัฏนครราชสีมา
 
 

เรือนโคราช หลังนี้มีประวัติความเป็นมาอย่างไร?

   

เรือนโคราชหลังนี้ เดิมตั้งอยู่ ณ บ้านตะคร้อ ตำบลเมืองคง อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา สร้างเมื่อ พ.ศ. 2448 หรือเมื่อ 111 ปีมาแล้ว โดยพ่อคง โชตินอก ซึ่งผ่านการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องของทายาทพ่อคงมากว่า 4 รุ่น สภาพก่อนจะย้ายมาปรุงใหม่ในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมานั้น มีความทรุดโทรมลงไปบ้างอันเนื่องจากผ่านกาลเวลา แต่ยังคงความแข็งแรง มั่นคง สวยงาม และสะท้อนภูมิปัญญา วิถีวัฒนธรรม และอัจฉริยภาพของช่างท้องถิ่นชาวโคราชได้อย่างชัดเจน

ดังนั้นการชะลอเรือนโคราช มาไว้ในสถาบันอุดมศึกษา นอกจากจะเป็นการสืบทอดภูมิปัญญาด้านสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นแล้วยังเป็นการสืบสานมรดกทางคติความเชื่อ โลกทัศน์ และวิถีวัฒนธรรมแบบโคราชได้อย่างชัดเจนอีกด้วย

ประวัติพ่อคงโดยละเอียด เรียบเรียงโดย ผศ.นฤมล ปิยวิทย์

เรือนเก่า ก่อนชะลอมา ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
ถ่ายภาพโดย คุณสุรชัย เดชชัยพิทักษ์

 



พ่อคง โชตินอก

     
 
 
หมอเพลงโคราช จากทุกคณะในสมาคมเพลงโคราช ร่วมบริจาคเพื่อจัดสร้างเรือนพ่อคง
 
 
 

เอกลักษณ์ของเรือนนี้ คืออะไร?

   

เรือนโคราชหลังนี้ เป็นเรือนแฝดที่มีเรือนนอน 2 หลังขนานกัน มีชานหรือโถงกั้นกลาง เป็นลักษณะเด่นแตกต่างจากเรือนทั่วไป (เรือนมี 2 จั่ว แต่มีพื้นที่ใช้สอยเทียบเท่าเรือน 3 จั่ว) มีการสอดประสานชิ้นส่วนต่างๆ เข้าด้วยกันเป็นองค์อาคารได้อย่างแข็งแรง มั่นคง ซึ่งทำให้เรือนพ่อคงหลังนี้ สามารถคงอยู่มาได้นานถึง 111 ปี สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นอัจฉริยภาพและปัญญาสร้างสรรค์ของช่างท้องถิ่นโคราช ที่มีความริเริ่ม มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับระบบโครงสร้าง แตกต่างอย่างเป็นเอกลักษณ์ หาได้ยากยิ่งเมื่อเปรียบเทียบกับเรือนในสมัยนั้น เรือนหลังนี้จึงเป็น “เรือนครู” ที่ทำหน้าที่เป็นข้อมูลสำคัญทางประวัติศาสตร์และเป็นแหล่งเรียนรู้ทางภูมิปัญญาของท้องถิ่นชาวโคราชสืบไป

 



บทความ เรื่อง เรือนพ่อคง: ปัญญาสร้างสรรค์ และอัจริยภาพของช่างท้องถิ่นโคราช
โดย ผศ.การุณย์ ศุภมิตรโยธิน อาจารย์หลักสูตรสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
(PDF Files)

   
 

ทำไมต้องสร้างตรงนี้ ?

บริเวณที่เรือนโคราชตั้งอยู่นั้น ในอดีตเคยเป็นบ้านพักของผู้บริหารระดับสูงของสถาบันการศึกษาแห่งนี้มาหลายท่าน ตั้งแต่เมื่อครั้งยังเป็นโรงเรียนฝึกหัดครู วิทยาลัยครู และสถาบันราชภัฏ

บ้านพักผู้อำนวยการโรงเรียนฝึกหัดครู
สร้างเมื่อ พ.ศ. 2490 ภายหลังถูกปรับใช้เป็นศูนย์ฝึกประสบการณ์อุตสาหกรรมท่องเที่ยว

บริเวณที่ตั้งเรือนโคราชอยู่ใกล้กับพิพิธภัณฑ์เมืองนครราชสีมา ซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้ทางด้านประวัติศาสตร์ของจังหวัดนครราชสีมา




บริเวณที่ตั้งเรือนโคราชอยู่ใกล้กับลานธรรมเฉลิมพระเกียรติ ซึ่งเป็นสถานที่อันเป็นมหามงคล เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 พร้อมด้วยสมเด็จนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ มาประทับรับฟังคำบรรยาย เรื่อง การฝึกหัดครูชนบท เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2507



บริเวณที่ตั้งของเรือนโคราชมีความร่มรื่น สวยงาม เหมาะสมที่เป็น “พื้นที่สีเขียวของมหาวิทยาลัย ให้นักศึกษาได้พักผ่อนหย่อนใจ เป็นมุมสวยๆ ท่ามกลางตึกและอาคารใหญ่ (โดยการก่อสร้างเรือนโคราชนั้นได้มีการตัดต้นไม้ในบริเวณนั้นน้อยมาก และมีการปลูกต้นไม้ท้องถิ่นเพิ่มเติมอีกหลายชนิด)

 
บริเวณโดยรอบเรือนโคราช ก่อนทำการก่อสร้าง
     
     


 

เรือนหลังนี้มูลค่าเท่าไหร่?

  ใครคือ ผู้อำนวยการชะลอเรือน
หรือปรุงใหม่ ณ มหาวิทยาลัยฯ?

เรือนโคราชหลังนี้จัดสร้างด้วยงบประมาณกว่า 4 ล้านบาท โดยเป็นเงินบริจาคจากคณะศิษย์เก่าฯ และผู้มีจิตศรัทธาในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมโคราชขอร่วมบริจาคสมทบด้วยบางส่วน อาทิ สมาคมเพลงโคราช (ค่าใช้จ่ายรวมทั้งการดำเนินการด้านการก่อสร้าง ด้านพิธีกรรมต่างๆ ด้านเอกสารวิชาการ และการประชาสัมพันธ์กิจกรรม)



การประชุมของคณะศิษย์เก่าฯ เพื่อวางแผนการระดมทุนจัดสร้างเรือนโคราช เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2559 ณ บ้านเฉลิมวัฒนา (บ้านของดร.นิเชต - อ.สุมาลัย สุนทรพิทักษ์)

 

ดร.ดุลย์พิชัย โกมลวานิช ประธานคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

 

     
 
 
 

เรือนโคราช ทำกิจกรรมอะไรได้บ้าง ?

การเรียนการสอนด้านศิลปวัฒนธรรม การจัดงานประเพณีต่างๆ กิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรม
     
การจัดแสดงนิทรรศการด้านศิลปวัฒนธรรม เรือนต้นแบบในการก่อสร้าง
(เรือนครู)
การพักผ่อน อ่านหนังสือ ทำการบ้าน
     
เป็นมุมถ่ายภาพ แหล่งท่องเที่ยว แหล่งเรียนรู้ พิธีมงคลสมรส
     
   
และให้อาหารปลา
(สระน้ำหลังเรือน)
   
(ภาพอื่นๆ)
 
 
การเข้าชม : ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย โดยแจ้งความประสงค์ ณ อาคาร 10 สำนักศิลปะและวัฒนธรรม หรือทางโทรศัพท์
หากมาเป็นหมู่คณะ จะต้องแจ้งล่วงหน้าก่อน 3 วันทำการ
และหากต้องการวิทยากร ต้องแจ้งล่วงหน้าด้วยเช่นกัน
โทร 044 009009 ต่อ 1010 โทรสาร 044 - 253097 sawadeegan@msn.com
 
Exhibition
 
 

พิพิธภัณฑ์เมืองนครราชสีมา : Korat Museum.
อาคาร 10 ชั้น 2 สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา